บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

# NOD32 ก็แจ้งเตือนไฟล์ C:\WINDOWS\system32\sfc_os.dll

วิธีแก้ไขวิธีที่ 1

1. ให้เปิด my computer หรือ windows explorer เข้าไปเปลี่ยนชื่อไฟล์ อยู่ใน C:\WINDOWS\system32\ หาไฟล์ชื่อ sfc_os.dll เมื่อเจอแล้ว คลิกขวาที่ไฟล์ แล้ว เลือก Rename ให้พิมพ์เปลี่ยนชื่อไฟล์ก่อนครับ เป็นอะไรก็ได้ เช่น sfc_os.dll.bk พอเปลี่ยนชื่อแล้ว NOD32 จะพยายามให้ restart ยังไม่ต้อง restart ครับให้ทำขั้นต่อไปก่อน

2. ดาวน์โหลดไฟล์ sfc_os.zip [download] ข้างในไฟล์จะมีไฟล์ sfc_os.dll หรือ ไปเอา File sfc_os.dll มากจากเครื่องที่ปกติอยู่

3. ให้แตกไฟล์ที่เราโหลดมา ด้วยโปรแกรม winrar หรือ winzip ก็ได้ครับ นำไฟล์ที่ได้ ไปไว้ใน C:\WINDOWS\system32\ แทนของเดิม

4. จากนั้นก็ restart ครับ เป็นอันเสร็จ


วิธีแก้ไขวิธีที่ 2

1. เปิดโปรแกรม NOD32

2. จากนั้นเข้าเมนู Advance Setup หรือ กดปุ่ม F5 ก็จะพบหน้าต่างในการตั้งค่าขึ้นมา

3. ให้คลิกไปที่หัวข้อหลัก -Antivirus and antispyware แล้วคลิกที่ หัวข้อย่อย -Exclusions จะเห็นด้านขวามือ กดปุ่ม Add แล้วก็ใส่ C:\windows\systems32\sfc_os.dll ไปในช่อง Exclusion:

4. แล้วกด OK

5. จากนั้นให้ปิดหน้าต่าง NOD32 แล้วลอง Restart


**สรุปไฟล์ sfc_os.dll ที่ NOD32 เตือนนั้นไม่ใช่ Trojan แต่อย่างใดเป็นเพียงไฟล์ ของโปรแกรม nLite ที่ถูกดัดแปลงเพื่อปิดการทำงาน ระบบ SFC ของ windows ใน windows เถื่อนเท่านั้นเองครับ

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

# วิธีลบ ms removal tool

วิิธีการแก้ Ms removal tool

 ให้โหลด ไฟล์ ที่  https://docs.google.com/uc?id=0B7pJ7yI2AU6jMWZmNTAyNGEtZjc4YS00ZGY2LWFlZWMtYzI5ZTEzMGIwOTk0&export=download&hl=en2
หรือ โหลดที่ 
http://www.4shared.com/file/Xpn-gjUh/iexplore.html?




โหลดเสร็จดับเบิลคลิกให้ Program >> คลิก Run >>  คลิืก I Accept >>
ให้เลือกอันบน Do a system scan and save a logfile

 ให้มาดูผลจากล็อกไฟล์  ตรง O4 - HKCU\..\RunOnce: [ชี่อKeyมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม] C:\ProgramData\(ชี่อFolderมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม)\(ชี่อFileมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม.exe)

ให้สังเกตว่า ชื่อKey ชื่อ Folder และชื่อFile  มันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม แต่เหมือนกันหมด  ตรงนี้แหละที่เราต้องฟิกทิ้ง แต่อาจจะต้องเข้าไปทำในเซฟโหมด

และต้องตามไปลบไฟล์มันทิ้งด้วย

มันจะอยู่ที่นี่   C:\ProgramData\(ชี่อFolderมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม)\(ชี่อFileมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม.exe)

C:\Documents and Settings\All Users\Application Data\(ชี่อFileมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม.exe)

C:\Documents and Settings\(USERที่ใช้งานอยู่)\Local Settings\Application Data\(ชี่อFileมันจะใช้ชื่อแบบสุ่ม.exe)

ต้องตามไปลบทิ้งให้หมด ควรทำในเซฟโหมด

ถ้าทำทุกขั้นตอนแล้ว Restart อีกทีก็จะกลับมาปรกดิ

ให้รีบไปหาตัวป้องกันประเภท Anti Spyware มาลง แล้ว scan อีกทีนะครับ

หน้่าตา ต้วโปรแกรม ป่วน




วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

# การเซตแอกเซสพอยน์ Linksys รุ่น WAP54G

การเซตแอกเซสพอยน์ยี่ห้อ Linksys รุ่น WAP54G

กดปุ่ม Reset ที่ท้ายเครื่องค้างนานประมาณ 30 วินาที (สังเกตว่าไฟในช่อง Act-สีเขียว จะดับแสดงว่า Reset แล้ว)
Contributed by สัมพันธ์   
Monday, 15 January 2007

1. set แอกเซสพอยน์ให้เป็น factory default โดยกดปุ่ม Reset ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
2. เครื่องจะมีหมายเลขไอพีเป็น 192.168.1.245 และ SSID เป็น linksys
3. ใส่เลข IP Address ให้กับเครื่องโน้ตบุ๊คเป็น 192.168.1.3  subnet mask 255.255.255.0
4. เชื่อมต่อเครื่องแอกเซสพอยน์เข้ากับเครื่องโน้ตบุ๊ค จากนั้นเปิดบราวเซอร์หน้าต่างใหม่แล้วใส่ 192.168.1.245 ในช่อง Address
5. เข้าสู่การคอนฟิกโดยช่อง Username ปล่อยว่างไว้และช่อง Password เป็น admin

ไม่สามารถจะคอนฟิกแบบ Open พร้อมกับแบบ WPA ด้านล่าง ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

การคอนฟิกแอกเซสพอยน์ให้ใช้แบบ Open ต่อผ่าน chillispot
ุคลิกแท็บ Wireless > Basic Wireless Settings
        Mode: Mixed
        Network Name(SSID): group1-open
        Channel: เลือกตามหมายเลขกลุ่ม
        SSID Broadcast: Enabled
คลิกปุ่ม Save Settings
คลิกแท็บ Setup > Network Setup
    ในส่วน Configuration Type: เลือกตั้งหมายเลขไอพีแบบ Automatic Configuration-DHCP (สำคัญมาก chillispot จะทำงานไม่ได้ถ้าเลือกเป็น static)
คลิกปุ่ม Save Settings

หลังจากคลิกปุ่ม Apply ไปแล้วจะไม่สามารถเข้าคอนฟิกแอกเซสพอยน์ทางบราวเซอร์ได้อีกต่อไป เพราะมันลบเลขไอพี 192.168.1.245 ไปแล้ว และเปลี่ยนเป็นรับเลขไอพีจาก dhcp

ในขั้นนี้จะสามารถใช้งานแบบ open และ Web Login ได้แล้ว

การคอนฟิกแอกเซสพอยน์ให้ใช้แบบ WPA ต่อตรงกับเรเดียสเซิร์ฟเวอร์
ุคลิกแท็บ Wireless > Basic Wireless Settings
        Mode: Mixed
        Network Name(SSID): group1-wpa
        Channel: เลือกตามหมายเลขกลุ่ม
        SSID Broadcast: Enabled
คลิกปุ่ม Save Settings
คลิกแท็บ Wireless > Security
        Security Mode: WPA-Enterprise
        Encryption: TKIP
        RADIUS Server: ใส่ IP ที่กำหนดให้ (10.0.1.1)
        RADIUS Port: 1812
        Shared Secret: mytestkey
คลิกปุ่ม Save Settings
คลิกแท็บ Setup > Network Setup
        ในส่วน Configuration Type: เลือกตั้งหมายเลขไอพีแบบ Static IP แล้วตั้ง IP เป็น 10.0.1.2 /24
คลิกปุ่ม Save Settings

การคอนฟิกแอกเซสพอยน์ให้ใช้แบบ WPA ต่อผ่าน chillispot
ุคลิกแท็บ Wireless > Basic Wireless Settings
        Mode: Mixed
        Network Name(SSID): group1-wpa
        Channel: เลือกตามหมายเลขกลุ่ม
        SSID Broadcast: Enabled
คลิกปุ่ม Save Settings
คลิกแท็บ Wireless > Security
        Security Mode: WPA-Enterprise
        Encryption: TKIP
        RADIUS Server: ใส่ IP ที่กำหนดให้ (10.0.1.1)
        RADIUS Port: 1812
        Shared Secret: mytestkey
คลิกปุ่ม Save Settings
คลิกแท็บ Setup > Network Setup
    ในส่วน Configuration Type: เลือกตั้งหมายเลขไอพีแบบ Automatic Configuration-DHCP (สำคัญมาก chillispot จะทำงานไม่ได้ถ้าเลือกเป็น static)
คลิกปุ่ม Save Settings

หลังจากคลิกปุ่ม Apply ไปแล้วจะไม่สามารถเข้าคอนฟิกแอกเซสพอยน์ทางบราวเซอร์ได้อีกต่อไป เพราะมันลบเลขไอพี 192.168.1.245 ไปแล้ว และเปลี่ยนเป็นรับเลขไอพีจาก dhcp

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

# วิธีการติดตั้งบริการ DHCP

การติดตั้ง DHCP Server บน Windows Server 2003การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องไคลเอนต์บนระบบเครือข่าย นั้น เป็นหน้าที่หนึ่งของแอดมิน ในกรณีที่เครื่องไคลเอนต์มีจำนวนไม่มาก ตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือในบริเวณใกล้ๆ กัน การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้นก็สามารถทำได้โดยไม่มีความซัลซ้อน อะไร แต่ถ้าเครื่องไคลเอนต์มีจำนวนมาก และตั้งอยู่หลายที่หรือห่างไกลกันการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบแมนนวลนั้น คงเป็นเรื่องยาก การแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสแบบอัตโนมัติโดยใช้บริการแจก จ่ายหมายเลขไอพีให้เครื่องไคลเอนต์ด้วย DHCP Server ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่มีใน Windows Server 2003

การติดตั้ง DHCP Server
บริการ DHCP Server นั้น ก็เหมือนกับบริการอื่นๆ ของ Windows Server2003 คือจะไม่ถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์ โดยวิธีการติดตั้ง DHCP Server นั้น ให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Add or remove role จะได้หน้าต่าง Configure Your Wizard ซึ่งจะช่วยในการ Add or remove a role
  
 
 

ขั้นตอนการติดตั้ง DHCP Server
การติดตั้ง DHCP Server มีขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้าต่าง Manage Your Server ให้คลิกที่ Add or remove a role
2. ในหน้าต่าง Preliminary Steps ให้คลิกปุ่ม Next
3. ในหน้าต่าง Server Role ให้คลิกเลือก DHCP Server แล้วคลิกปุ่ม Next
4. ในหน้าต่าง Summary of Selections ให้คลิกปุ่ม Next
5. ในหน้าต่าง Configuring Components ให้รอจนระบบทำงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next 
7. ในหน้าต่าง Applying Selections ระบบจะทำการเพิ่ม Role ให้กับ Server ให้รอจนกว่าระบบงานเสร็จเรียบร้อย แล้วให้คลิก Next
7. ในหน้าต่าง Welcome to the New Scope Wizard คลิก Cancel ออกจากการสร้าง Scope แล้วให้เลือก Finish

การจัดการ DHCP Server
การจัดการ DHCP Server จะใช้สแนป-อิน DHCP Server โดยให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Manage this DHCP Server ซึ่งจากหน้าต่าง DHCP Server แอดมินสามารถทำจัดการด้านต่างๆ เช่น สร้างสโคปใหม่ (New Scope) แก้ไขอ็อปชันของสโคป เป็นต้น

การสร้างสโคปใหม่
สโคป (Scope) หมายถึง ช่วงของหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) สําหรับแจกจ่ายให้กับไคลเอนต์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยนอกเหนือจากหมายเลข IP Address แล้ว เรายังสามารถกําหนดค่าอ็อปชันต่างๆ ของสโคป เพื่อนำไปกำหนดให้กับเครื่องไคลเอนต์ได้ด้วย โดยอ็อปชันของสโคปนั้นจะเป็นค่าพารามิเตอร์เสริมต่าง ๆ เช่น หมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลต์เกตเวย์, หมายเลขไอพีแอดเดรสของ DNS Server เป็นต้น

การสร้างสโคปใหม่
ขั้นตอนการสร้าง DHCP Scope
1. คลิกขวาที่ชื่อ DHCP Server แล้วเลือก New Scope
2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Scope Name ให้ตั้งชื่อของสโคปในช่อง Name ควรตั้งชื่อให้ให้สื่อความหมายเพื่อให้ง่ายต่อการจำในส่วนของช่อง Description จะเป็นคําอธิบายจะใส่หรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ IP Address Range ให้กําหนดช่วงของหมายเลขไอพีแอดเดรส โดยระบุแอดแดรสเริ่มต้นในช่อง Start IP address และระบุแอดแดรสสุดท้ายในช่อง End address ในช่อง Length นั้นเป็นจํานวนบิตของ Subnet Address ในที่นี้เท่ากับ 24 (255.255.255.0) ซึ่งเป็นค่าดีฟอลท์ Subnet mask โดยสามารถปรับแต่งจํานวนบิตของค่าของ Subnet mask ได้ตามการออกแบบเครือข่าย เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Exclusions ให้ใส่ช่วงหมายเลขไอพีแอดเดรสที่ไม่ต้องการให้อยู่ในสโคปคลิก Add เสร็จแล้วคลิก Next
5. ในไดอะล็อกบ็อกซ Lease Duration ให้กําหนดระยะเวลาที่เครื่องไคลเอนต์สามารถใช้งานหมายเลขไอพีแอดเดรสจากสโค ปนี้ได้ โดยปกติค่าดีฟอลต์ของ Lease Duration จะเป็น 8 วัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
6. ระบบจะถามว่าต้องการเซต Scope Option เลยหรือไม่ ให้เลือก Yes แล้วคลิกปุ่ม Next
7. ให้ใส่ค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลต์เกตเวย์, หมายเลขไอพีแอดเดรสของ DNS Server เมื่อมีไดอะล็อกบ็อกซ์ถามตามลําดับ 
8. ระบบจะถามว่าต้องการแอคติเวต (Activate) สโคปนี้เลยหรือไมการแอคติเวตคือการเปิดการใช้งาน Scope เพื่อให้ เครื่องไคลเอนต์สามารถขอหมายเลขไอพีแอดเดรสที่อยูในสโคปดังกล่าวได้ ให้เลือก Yes แล้วคลิก Next เพื่อทำการแอคติเวต
9. เมื่อทำการแอคติเวต (Activate) สโคปแล้ว จะต้องทำการ Authorize DHCP server ก่อนเพื่อให้อำนาจในการจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องไคลเอนต์ โดยให้คลิกขวาที่ DHCP server แล้วเลือกเมนู Authorize ซึ่งจะทำการเพิ่มชื่อ DHCP server เข้าใน Authorized list ของฐานข้อมูล Active Directory

การทดสอบการทำงานของ DHCP Server
การทดสอบว่าบริการ DHCP server ที่ติดตั้ง สามารถใช้งานได้หรือไม่นั้น ต้องทดสอบจากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่าย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP
การคอนฟิก Windows XP ให้รับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP Server
1. คลิกขวาที่ My Network Places แล้วเลือก Properties
2. ในหน้าต่าง Network Connection ให้คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือก Properties
3. ในหน้าต่าง Area Connection Properties ให้เลือกที่ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิก Properties
4. ในหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties โดย default จะตั้งค่าเป็น Obtain an IP address Automatically และ Obtain DNS server address Automatically
5. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties
6. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Area Connection Properties และจบการตั้งค่า IP Address

การตรวจสอบการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของเครื่องไคลเอนต์
การตรวจสอบว่าเครื่องไคลเอนต์การรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสได้หรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง ipconfig ซึ่งเป็นคำสั่งที่รันจากคอมมานด์พร็อมพ์โดยการเรียกใช้งานนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิก Start คลิก run พิมพ์ cmd ในช่อง Open แล้วกด enter
2. ในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมพ์ให้พิมพ์ ipconfig /? แล้วกด enter เพื่อดูคำสั่งต่างๆ ที่สามารถใช้ได้
ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง ipconfig ตรวจสอบการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรส

- ดูค่า IP Address ของเครื่อง ให้รันคำสั่ง ipconfig ที่คอมมานด์พร็อมพ์
C:\>ipconfig
Windows IP Configuration
Connection-specific DNS Suffix . :
IP Address. . . . . . . . . . . . : 192.168.10.56
Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.10.1
C:\>

- ดูค่า IP Address ของเครื่องอย่างละเอียด ให้รันคำสั่ง ipconfig /all ที่คอมมานด์พร็อมพ์
C:\>ipconfig /all
Windows IP Configuration
Host Name . . . . . . . . . . . . : WinXP
Primary Dns Suffix . . . . . . . :
Node Type . . . . . . . . . . . . : Unknown
IP Routing Enabled. . . . . . . . : No
WINS Proxy Enabled. . . . . . . . : No

Connection-specific DNS Suffix . :
Description . . . . . . . . . . . : WAN (PPP/SLIP) Interface
Physical Address. . . . . . . . . : 00-53-45-00-00-00
Dhcp Enabled. . . . . . . . . . . : No
IP Address. . . . . . . . . . . . : 192.168.10.56
Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.10.1
DNS Servers . . . . . . . . . . . : 203.xxx.x.x
Primary WINS Server . . . . . . . : 203.xxx.x.x
NetBIOS over Tcpip. . . . . . . . : Disabled
C:\>

- ยกเลิกค่า IP Address ที่ได้จาก DHCP ให้รันคำสั่ง ipconfig /release ที่คอมมานด์พร็อมพ์
C:\>ipconfig /release
Windows IP Configuration
The operation failed as no adapter is in the state permissible for
this operation.
C:\>

- ขอรับค่า IP Address ที่ได้จาก DHCP ใหม่ ให้รันคำสั่ง ipconfig /renew ที่คอมมานด์พร็อมพ์

การทดสอบการทำงาน
ทดสอบโดยการใช้คำสั่ง ping ไปยังหมายเลขไอพีแอดเดรสของดีฟอลท์เกตเวย์ หรือของเครื่องใกล้เคียง หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 1 (Reply from x.x.x.x: bytes=32 time=xxms TTL=255) แสดงว่าการรับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์ น่าจะถูกต้อง หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 2 (Request timed out.) อาจเป็นไปได้ว่าการตั้งค่าไม่ถูกต้อง แต่หากได้รับข้อความตามลักษณะของตัวอย่างที่ 3 (Destination host unreachable) แสดงว่าเครื่องไคลเอนต์ยังไม่ได้รับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์

ตัวอย่างที่ 1:
C:\>ping 192.168.2.35
Pinging 10.1.1.1 with 32 bytes of data:

Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=173ms TTL=255
Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=281ms TTL=255
Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=343ms TTL=255
Reply from 192.168.2.35: bytes=32 time=265ms TTL=255

Ping statistics for 192.168.2.35:
Packets: Sent = 4, Received = 4, Lost = 0 (0% loss),
Approximate round trip times in milli-seconds:
Minimum = 173ms, Maximum = 343ms, Average = 265ms
C:\>

ตัวอย่างที่ 2:
C:\>ping 192.168.2.35

Pinging 192.168.2.35 with 32 bytes of data:

Request timed out.
Request timed out.
Request timed out.
Request timed out.

Ping statistics for 192.168.2.35:
Packets: Sent = 4, Received = 0, Lost = 4 (100% loss),
C:\>

ตัวอย่างที่ 3:
C:\>ping 192.168.2.35
Pinging 192.168.2.35 with 32 bytes of data:

Destination host unreachable.
Destination host unreachable.
Destination host unreachable.
Destination host unreachable.

Ping statistics for 192.168.2.35:
Packets: Sent = 4, Received = 0, Lost = 4 (100% loss),
C:\>