บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

# ติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0

ติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0
• ทำความรู้จักกับ Windows SharePoint Services 3.0
Windows SharePoint คือ Web Application ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการการสื่อสาร การจัดการเนื้อหา การอำนวยความสะดวกให้กับทีม โดยการสร้างเว็บไซต์ (Website) จากเท็มเพลต (Template) สำเร็จรูป เพื่อรวบรวมเอกสารต่างๆ เข้าด้วยกันสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีม ตัวอย่างเช่น Meeting site สำหรับการประชุมผ่านทาง Website ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างเหมือนการประชุมจริง โดยจะมีผู้ดำเนินการประชุมและผู้เข้าร่วมประชุม และมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น
1. เครื่องมือสำหรับแจ้งเวียนเชิญและตอบรับการประชุม
2. รายการและวาระการประชุม
3. รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ เอกสารแผนที่ และวิธรการเดินทางไปประชุมเป็นต้น
4. พื้นที่สำหรับจัดเก็บบันทึกการประชุม

Windows SharePoint นั้นจะประกอบด้วย 2 ผลิตภัณฑ์ คือ Windows SharePoint Services (WSS) และ Windows SharePoint Portal Server (WSPS) ข้อแตกต่างในการทำงานระหว่างผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ตัวนี้คือ WSS นั้นจะประกอบขึ้นมาจาก Site collection เพียงอย่างเดียว แต่ WSPS นั้นจะประกอบด้วย Area, Site collection และ Personal site ในขณะที่ 

Windows SharePoint Services Site
Site Collection คือ web site ที่ประกอบขึ้นมาจาก Top-level site , Subsite, และ content ของแต่ละ subsite รวมถึง Document Workspace และ Meeting Workspace

Top-level site คือ Web site ที่ถูกสร้างขึ้นใน WSS ที่ไม่อยู่ภายใต้ site อื่นๆ โดยที่ Top-level site นั้น สามารถมี Subsite อยู่ภายใต้ได้ และ subsite ที่อยู่ภายใต้ Top-level site นั้น สามารถมี subsite ได้

Subsite คือ Web site ที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้ Top-level site บางครั้งเรียกว่า workspace โดยที่ subsite นั้นอาจมี element ต่างๆ เหมือนกันกับ Top-level site ได้ แต่อย่างไรก็ตาม subsite นั้น โดยส่วนมากจะใช้งานในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของส่วนงานย่อยขององค์กร ตัวอย่าง เช่น ฝ่าย Engineering ประกอบด้วยส่วนงาน Electrical Engineering, Computer Engineering, Mechanical Engineering ดังนั้น Top-level site คือ Engineering และ มี 3 Subsite คือ Electrical Engineering site, Computer Engineering site , Mechanical Engineering site

*Metadata คือ ข้อมูลที่อธิบายถึงรายละเอียดของเอกสารหรือเนื้อหา

Site Group
Site Group คือ กลุ่มของผู้ใช้ โดยจะใช้ site group ในการกำหนดสิทธิในการใช้งาน site collection ของผู้ใช้ โดย site group ของ Windows SharePoint Service นั้นมี 5 กลุ่ม คือ

1. Reader = อ่านได้อย่างเดียว
2. Contributor = สามารถเพิ่มเนื้อหา (Content) เข้าใน List และ Document Library ได้
3. Web Designer = สามารถสร้าง Document Library และปรับแต่งหน้า website ได้
4. Administrator = มีสิทธิการใช้งานสูงสุด สามารถจัดการ WSPS ได้ทุกอย่าง
5. Custom Group = มีสิทธิการใช้งานต่างๆ ตามการกำหนดของ Administrator

การใช้งาน Windows SharePoint Services 3.0
ก่อนทำการติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0 นั้น ต้องทำการติดตั้งและคอนฟิก
1. Internet Information Services (IIS)
2. Microsoft .NET Framework 2.0 and Microsoft .NET Framework 3.0

การคอนฟิกวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ให้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์
ในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นั้น Internet Information Services (IIS) จะไม่ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติพร้อมกับระบบปฏิบัติการ ดังนั้นหากต้องการให้เซิร์ฟเวอร์เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ต้องทำการติดตั้งด้วยตนเอง

การติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์(IIS 6.0) และคอนฟิกโหมดการทำงาน
ขั้นตอนการติดตั้ง IIS 6.0 และคอนฟิกให้ทำงานในโหมดไอโซเลต (Process Isolation Mode) มีดังนี้
1. คลิก Start คลิก All Programs คลิก Administrative Tools จากนั้นคลิก Manage Your Server
2. บนหน้าต่าง Manage Your Server คลิก Add or remove a role
3. ในไดอะล็อก Preliminary Steps คลิก Next
4. ในไดอะล็อก Server Role คลิก Application server (IIS ASP.NET) จากนั้นคลิก Next.
5. ในไดอะล็อก Web Application Server Options ให้เลือก Enable ASP.Net จากนั้นคลิก Next.
6. ในไดอะล็อก Summary of Selections คลิก Next
7. ในไดอะล็อก This Server is Now an Application Server คลิก Finish.
8. คลิก Start คลิก All Programs คลิก Administrative Tools จากนั้นคลิก Internet Information Services (IIS) Manager
9. ในหน้าต่าง Internet Information Services Manager คลิกที่เครื่องหมายบวก (+) ที่อยู่หน้าชื่อเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นคลิกขวาที่โฟลเดอร์ Web Sites แล้วเลือก Properties จากชอร์ตคัทเมนู
10. ในไดอะล็อก Properties คลิกที่แท็ป Service
11. ในส่วน Isolation mode ให้เลือกเช็คบ็อกซ์หน้า Run WWW service in IIS 5.0 isolation mode จากนั้นคลิก OK

หมายเหตุ:
เช็คบ็อกซ์หน้า Run WWW service in IIS 5.0 isolation mode จะถูกเลือก () เฉพาะกรณีทำการอัพเกรดจาก IIS 5.0 บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 ไปเป็น IIS 6.0 บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 เท่านั้น ถ้าเป็นการติดตั้ง IIS 6.0 ใหม่นั้น IIS 6.0 จะทำงานในแบบไอโซเลต (Process Isolation Mode) โดยอัตโนมัติ

ติดตั้งไมโครซอฟต์ .NET Framework 2.0
Windows SharePoint Services ต้องการดอทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 2.0 (.NET Framework 2.0)ในการทำงาน ขั้นตอนการติดตั้งดอทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 2.0 ดังนี้ (หากยังไม่มีตัวติดตั้งด็อทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 2.0 ให้ทำการดาวน์โหลดจากศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟต์ Microsoft Download Center Web site แล้วเลือก Microsoft .NET Framework Version 2.0 Redistributable Package (x86) แล้วคลิก Download)
1.ในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ดอทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 2.0 ให้ดับเบิลคลิก dotnetfx.exe จากนั้นคลิก Run เพื่อทำการติดตั้ง
2. ในหน้า Welcome to Microsoft .NET Framework Version 2.0 Setup คลิก Next
3. ในหน้า End-User License Agreement เลือกเช็คบ็อกซ์หน้า I accept the terms of the License Agreement จากนั้นคลิก Install
4. ในหน้า Setup Complete คลิก Finish

การคอนฟิก IIS ให้รองรับ ASP.NET 2.0
ถ้าหากเป็น Internet Information Services (IIS) มีการติดตั้งใช้งานอยู่ก่อนแล้ว ในการรัน Windows SharePoint Services จะต้องทำการเปิดใช้งาน ASP.NET v2.0 ก่อน ดังนี้
1. คลิก Start คลิก All Programs คลิก Administrative Tools จากนั้นคลิก Internet Information Services (IIS) Manager
2. ในหน้าต่าง IIS Manager ให้เลือกเว็บไซท์ที่ต้องการคอนฟิกให้ใช้งานงาน ASP.NET v2.0
ให้คลิกขวาที่เว็บไซท์ที่ต้องการจากนั้นคลิก Properties จากชอร์ตคัทเมนู
3. บนแท็ป ASP.NET ในช่อง ASP.NET version ให้เลือก 2.0.50727
4. คลิก Apply จากนั้นคลิก OK

การรีสตาร์ท IIS
1. คลิก Start จากนั้นคลิก Run
2. ในช่อง Open พิมพ์ cmd.exe จากนั้นคลิก OK
3. ที่คอมมานด์พรอมท์ให้พิมพ์ iisreset.exe จากนั้นกด ENTER
4. พิมพ์ exit จากนั้นกด ENTER เพื่อออกจากคอมมานต์พรอมท์

ติดตั้งไมโครซอฟท์ .NET Framework 3.0
หากยังไม่มีตัวติดตั้งด็อทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 3.0 ให้ทำการดาวน์โหลดจากศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟต์ Microsoft Download Center Web site แล้วเลือก Microsoft .NET Framework Version 3.0 Redistributable Package (x86) แล้วคลิก Download
1. ในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ดอทเน็ตเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 3.0 ให้ดับเบิลคลิก dotnetfx3setup.exe จากนั้นคลิก Run เพื่อทำการติดตั้ง
2. ในหน้า Welcome to Microsoft .NET Framework Version 3.0 Setup เลือกปุ่มเรดิโอ I have read and ACCEPT the terms of the License Agreement จากนั้นคลิก Install
3. คลิกบอลลูน Microsoft .NET Framework 3.0 Setup
4. ในหน้า Setup Complete คลิก Exit

ติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0 และ SQL Server 2005 Express
ในการติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0 แบบเซิร์ฟเวอร์เดี่ยว (Single stand-alone server) นั้นสามารถทำการติดตั้งโดยเลือกอ็อปชันการติดตั้งเดฟฟอลต์แบบ Basic ซึ่งการติดตั้งนั้นจะรวมการติดตั้ง SQL Server 2005 Express ด้วย ตามขั้นตอนดังนี้

1. หากยังไม่มีตัวติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0 ให้ทำการดาวน์โหลดจากศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟต์ จากนั้นให้ท่องไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาแล้วให้รันไฟล์ SharePoint.exe
2. คลิก I accept the terms of this agreement จากนั้นคลิก Continue
3. คลิก Basic เพื่อทำการติดตั้งแบบแบบเซิร์ฟเวอร์เดี่ยว (Single stand-alone server)
4. เมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จให้คลิก Close
5. ในหน้า SharePoint Products and Technologies Configuration Wizard คลิก Next
6. ในไดอะล็อก SharePoint Products and Technologies Configuration Wizard คลิก Yes
7. รอจนการทำงานของวิซาร์ดแล้วเสร็จ ซึ่งจะได้หน้า Configuration Successful ให้คลิก Finish.

จากนั้นให้ทดลองเปิดหน้าโฮมเพจของ SharePointโดยใช้ Internet Explorer เปิดหน้า http://servername ซึ่งอาจจะต้องใส่ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์นั้น จะต้องทำการบายพาสเว็บไซต์ SharePoint ก่อนจึงจะสามารถเปิดโฮมเพจของ SharePoint ได้

การเพิ่มไซต์ SharePoint เข้ายังรายการ Intranet Sites
1. ใน Internet Explorer ให้คลิกเมนู Tools แล้วคลิก Internet Options
2. บนแท็ป Security ในช่อง Select a Web zone to view or change security settings คลิก Local intranet จากนั้นคลิก Sites
3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Local intranet คลิก Advanced
4. ให้ลบเช็คบ็อกซ์ Require server verification (https:) for all sites in this zone ให้เป็น 
5. ในช่อง Add this Website to the zone ให้พิมพ์ URL ของเว็บไซต์ (เช่น http://servername) จากนั้นคลิก Add
6. คลิก OK เพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Local intranet
7. คลิก OK อีกครั้งเพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Local intranet
8. คลิก OK เพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Options
9. ให้คลิก Refresh บนทูลบาร์เมนูของ Internet Explorer เพื่อทำการรีเฟรช Internet Explorer

การบายพาส Proxy Serverสำหรับ Local Addresses
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ให้ทำการบายพาสเว็บไซต์ SharePoint ดังนี้
1. ใน Internet Explorer ให้คลิกเมนู Tools แล้วคลิก Internet Options
2. บนแท็ป Connections ในส่วน Local Area Network (LAN) Settings a คลิก LAN Settings
3. ในส่วน Proxy Server คลิกเช็คบ็อกซ์หน้า Bypass proxy server for local addresses ให้เป็น 
4. คลิก OK เพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Area Network (LAN) Settings
5. คลิก OK อีกครั้งเพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Options
6. ให้คลิก Refresh บนทูลบาร์เมนูของ Internet Explorer เพื่อทำการรีเฟรช Internet Explorer

ทดลองใช้งาน Windows SharePoint Servic3.0
เมื่อทำการติดตั้ง Windows SharePoint Services 3.0 แล้วเสร็จ จากนั้นก็สามารถทดลองใช้งานโดยทำการเปิดดูหน้าโฮมเพจ เช่น http://servername ด้วย Internet Explorer และยังสามารถทำการเพิ่มเนื้อหาให้กับ SharePoint ไซท์ หรือทำการบริหาร SharePoint ไซท์ได้โดยใช้ Central Administration ตัวอย่างเช่น
1. เพิ่มผู้ใช้เข้ายังไซต์
2. ปรับแต่งโอมเพจและหน้าเว็บเพจต่างภายในไซท์
3. ทำการสร้างลิสต์รายการหรือห้องเก็บเอกสารและเพิ่มเนื้อหา
คุณสามารถใช้ Central Administration เพื่อทำการคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น
1. Configure incoming e-mail settings ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งเนื้อหาไปยัง SharePoint ผ่านทางอีเมล์ หรือทำการส่งอีเมล์ไปยังสมาชิกทั้งหมดของไซท์ SharePoint
2. Configure e-mail alert settings เมื่อทำการคอนฟิก e-mail alert จะทำให้ผู้ใช้สามารถลงชื่อเพื่อรับอีเมล์แจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในไซท์
3. Configure antivirus protection settings ถ้าเซิร์ฟเวอร์ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันกับ Windows SharePoint Services ได้ ก็สามารถทำการคอนฟิกให้ทำการสแกนเอกสารต่างๆ เมื่อทำการอัพโหลดขึ้นไปยังหรือดาวน์โหลดจาก SharePoint ได้

.NET Framework Developer Center
โฮมเพจ .NET Framework เว็บไซต์ http://msdn.microsoft.com/en-us/netframework/default.aspx

เว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลด .NET Framework
 Microsoft .NET Framework Version 2.0 Redistributable Package (x86)
รายละเอียดการดาวน์โหลด
ชื่อไฟล์: dotnetfx.exe
เวอร์ชัน: 2.0
วันที่ออก: 1/22/2006
ขนาดของไฟล์: 22.4 MB
เวลาในการดาวน์โหลดโดยประมาณ: 55 นาที (Dial-up 56K)
ภาษา: อังกฤษ และอีก 23 ภาษา
ดาวน์โหลดลิงก์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyID=0856EACB-4362-4B0D-8EDD-AAB15C5E04F5&displaylang=en

 Microsoft .NET Framework Version 2.0 Redistributable Package (x64)
รายละเอียดการดาวน์โหลด
ชื่อไฟล์: NetFx64.exe
เวอร์ชัน: 2.0
วันที่ออก: 1/22/2006
ขนาดของไฟล์: 45.2 MB
เวลาในการดาวน์โหลดโดยประมาณ: 1 ชั่วโมง 51 นาที (Dial-up 56K)
ภาษา: อังกฤษ และอีก 23 ภาษา
ดาวน์โหลดลิงก์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?familyid=B44A0000-ACF8-4FA1-AFFB-40E78D788B00&displaylang=en

 Microsoft .NET Framework 3.0 Redistributable Package (bootstrapper)
รายละเอียดการดาวน์โหลด
ชื่อไฟล์: dotnetfx3setup.exe
เวอร์ชัน: 3.0
วันที่ออก: 11/21/2006
ขนาดของไฟล์: 2.8 MB
เวลาในการดาวน์โหลดโดยประมาณ: 7 นาที (Dial-up 56K)
ภาษา: อังกฤษ และอีก 23 ภาษา
ดาวน์โหลดลิงก์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?familyid=10CC340B-F857-4A14-83F5-25634C3BF043&displaylang=en

 Microsoft .NET Framework 3.0 Service Pack 1
รายละเอียดการดาวน์โหลด
ชื่อไฟล์: dotnetfx30SP1setup.exe
เวอร์ชัน: 3.0 SP1
วันที่ออก: 11/19/2007
ขนาดของไฟล์: 2.4 MB
เวลาในการดาวน์โหลดโดยประมาณ: 6 นาที (Dial-up 56K)
ภาษา: อังกฤษ และอีก 23 ภาษา
ดาวน์โหลดลิงก์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyID=ec2ca85d-b255-4425-9e65-1e88a0bdb72a&displaylang=en

 Microsoft .NET Framework 3.5
รายละเอียดการดาวน์โหลด
ชื่อไฟล์: dotNetFx35setup.exe
เวอร์ชัน: 3.5
วันที่ออก: 11/20/2007
ขนาดของไฟล์: 2.7 MB
เวลาในการดาวน์โหลดโดยประมาณ: 7 นาที (Dial-up 56K)
ภาษา: อังกฤษ และอีก 23 ภาษา
ดาวน์โหลดลิงก์: http://www.microsoft.com/downloads/details.aspx?familyid=333325FD-AE52-4E35-B531-508D977D32A6&displaylang=en

SharePoint Services 3.0 Site group Microsoft .NET Framework 2.0 3.0 dotNetFx

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

# ติดตั้ง Windows 7 ด้วย USB Flash Drive

ติดตั้ง Windows 7 ด้วย USB Flash Drive

การติดตั้ง Windows 7 ด้วยแผ่น DVD ดูจะไม่สะดวกนัก เนื่องจาก notebook บางเครื่องอาจจะไม่มี DVD ติดตั้งมาด้วย วันนี้จึงมาแนะนำวิธีติดตั้ง Windows 7 ด้วย USB Flash drive แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมมาติดตั้งเพิ่มเติม
สิ่งที่ต้องเตรียม
  1. แผ่น DVD หรือไฟล์ image Windows 7
  2. USB Flash drive ขนาด 4GB (ถ้ามีข้อมูลต้องไปเก็บไว้ที่อื่น เพราะข้อมูลทั้งหมดจะโดนลบ)
  3. คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows 7 ไว้แล้ว
ขั้นตอน
  1. กดปุ่ม windows+r ในช่อง open พิมพ์  cmd กด ok
  2. พิมพ์ diskpart
  3. พิมพ์ list disk ดูว่า flash drive เป็น disk หมายเลขอะไรโดยสังเกตุจากขนาด จากตัวอย่างคือ disk 1 ขนาด 3854 MB คือ 4GB
  4. พิมพ์ select disk 1 ตรงนี้ขึ้นอยู่กับเลข disk ที่ได้จากข้อ 3 ถ้าได้ disk 2 ก็ต้องพิมพ์ว่า select disk 2
  5. พิมพ์ clean ในขั้นตอนนี้ข้อมูลใน flash drive จะโดนลบทั้งหมด
  6. พิมพ์ create partition primary
  7. พิมพ์ select partition 1
  8. พิมพ์ active
  9. พิมพ์ format fs=fat32 รอจนกว่า format เสร็จ
  10. พิมพ์ assign
  11. พิมพ์ exit
  12. จากนั้นใส่แผ่นติดตั้งใน DVD หรือทำการ mount image ของ Windows 7
  13. ตรวจสอบว่าแผ่นติดตั้ง Windows 7 และ flash drive เป็น drive อะไร จากตัวอย่างแผ่นติดตั้ง Windows 7 อยู่ใน Drive F และ USB Flash drive เป็น drive G
  14. พิมพ์คำสั้ง xcopy f:*.* /s/e/f g: (โดย f: คือ drive ของแผ่นติดตั้ง windows 7 และ g: คือ drive ของ usb flash drive)
  15. จากนั้นรอจน copy ไฟล์เสร็จก็สามารถนำ usb flash drive อันนี้ไปติดตั้ง windows 7 ได้เลย โดยการสั่งให้ boot จาก usb flash drive อันนี้
ภาพประกอบ
im-0031.jpg

ที่มา http://www.thinkcomputers.org/install-windows-7-from-a-usb-flash-drive/

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

# Access Point คืออะไร

access point คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ switching hub ของระบบเครือข่ายปกติค่ะ โดย access Point ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลทางคลื่นความถี่กับ Wireless Card ซึ่งติดตั้งบนเครื่องของผู้ใช้แต่ละคน
Access Point หมายถึง อุปกรณ์จุดเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สาย ทําหน้าที่รองรับการเชื่อมโยงจากเครื่องลูกข่าย




access point diagram
Access Point หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าAP (เอ-พี) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น “จุดกระจายและเชื่อมต่อสัญญาณ ไร้สาย เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายทุกชนิด (ที่ทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11) เข้าด้วยกัน นอกจากจะทำหน้าที่เป็น Access Point แล้ว AP ที่ดียังสามารถทำหน้าที่อื่นๆ เพื่อช่วยให้ระบบเครือข่ายไร้สายตอบสนองความต้องการของคุณได้อย่างถึงขีดสุด หน้าที่ต่างๆ ของ AP ที่ดี ที่จะช่วยสร้างระบบเครือข่ายไร้สายของคุณให้ทรงประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง



Mode แต่ละโหมดของ Wireless Access Point มีไว้ใช้ประโยชน์ใดบ้าง

AP Mode

1. Default: Access Point Mode แรก คือ Access Point Mode ซึ่งเป็นหน้าที่หลักโดยกำเนิดของ AP ทุกตัวและเป็นที่มาของชื่อเรียกของเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ AP ที่ทำหน้าที่เป็น Access Point จะว่าไปแล้วก็เปรียบเสมือนสวิตซ์ในการสร้างระบบเครือข่ายผ่านสาย (ไม่ว่าจะเป็นสาย UTP หรือสาย Fiber Optic) โดย AP จะทำหน้าที่ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับรับระบบเครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Computer, Print Server, Camera หรือ อุปกรณ์พกพาต่างๆ (Smart Phone /PDA) เพื่อให้ใช้ทรัพยากรในวงแลนรวมกัน ทั้งซอฟท์แวร์ อาทิ แชร์ไฟล์ แชร์โปรแกรม แชร์อินเตอร์เน็ต หรือ ฮาร์ดแวร์ อาทิ การแชร์ Printer เป็นต้น Access Point Mode นี้จึงเป็นหัวใจหลักของการสร้างระบบเครือข่ายไร้สาย ที่ต้องการจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายเข้าด้วยกัน และเป็นเพียงโหมดเดียวที่ให้เครื่องลูกข่าย เชื่อมโยงเข้ากับ Access Point ได้ นอกจากนั้นจะเป็นการเชื่อมกันระหว่าง Access Point ด้วยกันเอง





2. Client Mode (AP Station / AP Client) ใน Mode นี้ AP จะทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับ
Wireless Card (หรือ Wireless Adapter อื่นๆ) คือทำหน้าที่เป็นตัวลูกข่าย และเชื่อมต่อผ่านทางสัญญาณไร้สายกับ AP เท่านั้น โดยจะไม่สามารถกระจายสัญญาณไร้สายไปยังอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ได้อีก การใช้งานใน Mode นี้เหมาะสำหรับการอำนวยความสะดวกให้กับStation ที่ไม่พร้อมสำหรับการใช้งานไร้สาย แต่พร้อมสำหรับการเป็นส่วนหนึ่งในวง LAN เช่น เครื่องชั่งน้ำหนักและพิมพ์ Label ในศูนย์การค้า (โดยเฉพาะในแผนกผักผลไม้) ที่ใช้ดึงข้อมูลจาก Database แล้วคำนวณออกมาเป็นราคาสินค้า โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ ดังกล่าวกับระบบฐานข้อมูลด้วยสายซึ่งเกะกะ หรือตั้งอยู่ในจุดที่ไม่สะดวกในการติดตั้งสายหรือจะใช้ AP ใน Mode นี้สำหรับการเชื่อมต่อวงแลน 2 วงที่อยู่ห่างกัน เข้าด้วยกัน หรือจะใช้กับเครื่อง Macintosh ที่ไม่ต้องการซื้อ Wireless Card ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงมาใช้งาน โดยสามารถนำ AP มาใช้งานแทนได้




3. Repeater Mode ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าทำหน้าที่เป็น Repeater ก็คือการทำหน้าที่ รับสัญญาณไร้สายมาเพื่อ กระจายต่อ โดยระบบเครือข่ายสำหรับการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ต้องอยู่ในวงแลนเดียวกันเท่านั้น ไม่ใช่การสร้างหรือการเพิ่มวงแลนแต่อย่างใด และ AP ที่ ทำหน้าที่เป็น Repeater จะต้องอยู่ในรัศมีของสัญญาณจาก Access Point การเชื่อมต่อใน Repeater Mode นั้น จะสามารถสร้าง Hop ได้ทั้งหมด 8 Hop (1 AP + 8 Repeater) โดยแต่ละ Hop ที่เกิดขึ้น จะทำให้สัญญาณเครือข่ายไร้สายช้าลงตามความหน่วงและตามสภาวะแวดล้อม และหากเกิด Network Down จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไล่ตรวจสอบ AP ทีละตัว ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการดูแลระบบเครือข่ายไร้สาย นอกจากนี้ การใช้ Repeater จะทำให้การเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายทั้งหมดไปรวมอยู่ที่ Access Point ซึ่งต้อง Load งานหนักและอาจจะพาลแฮงค์ ไปทั้งระบบเลยก็ได้ การตั้งค่า AP ด้วย Repeater Mode จึงเหมาะสำหรับการแก้ไขระบบเครือข่ายที่ได้รับการออกแบบมาผิด เนื่องจากไม่ถูกสำรวจความต้องการใช้งานให้ดีก่อนที่จะสร้างระบบเครือข่าย หรือใช้สำหรับกระจายสัญญาณไปยังจุดอับสัญญาณจริงๆ เนื่องด้วยรูปแบบของสถานที่ใช้งาน เช่น ตามซอกหลืบของอาคาร การใช้งาน Repeater Mode นั้นค่อนข้างจะเป็นการฝืนธรรมชาติของการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายแบบปกติชาวโลกใช้กัน จึงควรใช้สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าจะใช้เป็นทางเลือกหลักในการวางระบบเครือข่ายไร้สายที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด




4. Bridge Mode (WDA: Wireless Distribution Architecture / WDS: Wireless Distribution System) สำหรับใน Mode นี้ AP จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างวงแลนเข้าหากัน จะเรียกง่ายๆ ก็คือ Bridge Mode ทำให้วงแลน 2 วง ที่ต่างคนต่างทำงานกันเป็นปกติอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้ และต่างก็สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของอีกวง แลนหนึ่งได้ (แตกต่างจาก Client Mode ตรงนี้ Client Mode จะไม่สามารถเชื่อมต่อไปยัง อุปกรณ์ไร้สายเครื่องอื่นๆ ได้ แต่ใน Bridge Mode นี้ทำได้) การเชื่อมต่อในลักษณ์ Bridge Mode ทำได้ ทั้งแบบ Point to Point (PtP) คือเชื่อมระหว่างวงแลน 2 วงเข้าด้วยกัน และการเชื่อมต่อแบบ Point to Multi-Point (PtMP) นั่นก็คือสามารถเชื่อมต่อวงแลนมากกว่า 2วงแต่สูงสุดไม่ควรจะเกิน 7 Bridge เนื่องจาก จะทำให้การเชื่อมต่อช้าลงเนื่องจากความหน่วง (เช่นเดียวกันกับ Repeater Mode) ไม่ใช่ AP ทุกตัวที่จะสามารถทำงานได้ครบ ทั้ง 4 Mode ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือก AP ตัวใด ควรสอบถามจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้ แน่ใจก่อนว่า AP ที่คุณซื้อนั้นสามารถใช้งานใน Mode ที่คุณต้องการได้ เพื่อให้การจ่ายเงิน ของคุณเกิดประโยชน0สูงสุด ที่สำคัญ AP ในแต่ละ Mode ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ในการ ใช้งานที่แตกต่างกันไป จะเลือกใช้ Mode ใด ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ และลักษณะของระบบเครือข่ายที่คุณต้องการ ดังนั้นก่อนที่จะสร้างระบบเครือข่าย สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาความต้องการให้ดี เพื่อที่จะได้ออกแบบระบบเครือข่ายที่รองรับการทำงานของคุณอย่างแท้จริง



5. Repeater Mode โหมดนี้เป็นเหมือนการขยายระยะส่งของระบบ Wireless LAN ครับ โดยติดตั้ง Access Point เพิ่มขึ้น บริเวณที่สัญญาณของ Access Point ตัวหลักเริ่มจาง ทำให้สามารถเพิ่มระยะส่งของทั้งระบบออกไปอีก
ข้อมูลและภาพจาก :www.thelordofwireless.com วันจันทร์ที่17 สิงหาคม 2552



วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

# Trip Windows

1. Clear Spooler on Windows
     - ปิด Service Spooler โดยไปที่ Administrative tools >> Service ปิด Print Spooler
     -  เข้าไปที่ Windows >> Systeme32 >> Spool >> Printer >> ลบ file ข้างในออกให้หมด

2. อยากดูว่า User ใหนเปิด File ในระบบอยู่
    - เข้าไปที่ Administrative tools  >> Computer Management >> Shared Folderd >> Open File